สร้างแอพฯบนมือถือ/แท็บเล็ตแอนดรอยด์ง่ายๆ ด้วย App Inventor โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม

วิทยากร : คุณณรงค์พร เหล่าศรีสิน

การศึกษาและประสบการณ์ทำงาน

– ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า ลาดกระบัง

– ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

– ปัจจุบันทำงานตำแหน่งบรรณาธิการอำนวยการ นิตยสาร Eworld

วันที่จัดอบรม : วันอบรมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 2 วัน ( เวลา 09.00 -16.00 น. )

สถานที่จัดอบรม : ห้องอบรม ชั้น 9 อาคารอินเตอร์ลิงก์ ( อาคาร เนชั่นเดิม ) เลขที่ 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

วัตถุประสงค์

เนื่องด้วยในปัจจุบัน อุปกรณ์พกพาทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างมาก มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ ออกมามากมาย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพาเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Programming อย่างมาก อีกทั้งเครื่องมือในการพัฒนาก็ใช้งานยาก ผู้ใช้จำเป็นต้องมีการเตรียมการหลายขั้นตอน จนเมื่อทาง Google และ MIT ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ Android แบบง่ายๆ ชื่อ App Inventorซึ่งนี่เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้คนทั่วไปที่ไม่ได้มีความรู้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นมาก่อน สามารถเรียนรู้ และเริ่มพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานได้จริงในเวลาอันสั้น

หลังจากฝึกอบรมแล้ว คุณจะสามารถ …

– สามารถใช้ App Inventor 2 ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้ทำงานบนอุปกรณ์พกพา Andriod ทั้งที่เป็นสมาร์ตโฟน และแท็บเลต ได้โดยง่ายตั้งแต่เริ่มต้นจนได้ไฟล์ apk สำหรับติดตั้งบนอุปกรณ์พกพา

– สามารถดึงเอาขีดความสามารถของชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีในอุปกรณ์พกพามาใช้งานได้อย่างเต็มที่ ทั้งกล้องหน้า-หลัง เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนที่ นาฬิกา GPS การโทรออก การส่ง SMS เป็นต้น

– ได้รับแนวคิดใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งชีวิตและการทำงานในอนาคต

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร

– นักเรียน นักศึกษา ระดับมัธยมเป็นต้นมา ที่สนใจการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งครูที่ต้องการนำความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแบบง่ายๆ ไปถ่ายทอดสู่นักเรียน นักศึกษา

– บุคคลทั่วไป ที่อาจไม่ได้ศึกษาในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่มีความสนใจ และมีความต้องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในการทำงาน หรือเพื่อสร้างต้นแบบ (prototype) ของแอพพลิเคชั่น เพื่อทดสอบแนวความคิดก่อนที่จะลงมือสร้างแอพพลิเคชั่นจริงในแพลตฟอร์มอื่น

พื้นฐานความรู้ผู้เข้าอบรม

ผู้ที่มีประสบการณ์ใช้งานคอมพิวเตอร์ ที่ไม่จำเป็นต้องมีพื้นความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรมมาก่อน

ลักษณะแนวทางของการฝึกอบรม

– ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ และฝึกฝนการใช้ AI2 ในการสร้างแอพพลิเคชั่น และการทดสอบบนอุปกรณ์ Android จนถึงการสร้างไฟล์ apk เพื่อนำไปติดตั้งบนอุปกรณ์ Android

– ในแต่ละบทเรียน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการทดลองสร้างแอพพลิเคชั่นตามตัวอย่าง ด้วยการเรียน ชมการสาธิต และทดลองทำ โดยแอพพลิเคชั่นตัวอย่างแต่ละโมดูล จะแสดงการใช้ฟีเจอร์แต่ละด้านของ AI2 ซึ่งจะมีตัวอย่างแอพพลิเคชั่น หลายโมดูล สำหรับทดลองสร้าง และศึกษาการทำงานของแต่ละคำสั่งใน AI2

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียม

– เปิดบัญชีผู้ใช้ Google Account

– อุปกรณ์พกพาที่ทำงานบน Android  ที่ติดตั้ง Android Operating System 2.3 (“Gingerbread”) หรือใหม่กว่า

– ดาวน์โหลด และติดตั้งแอพพลิเคชั่น AI2 companion บน Android

ความรู้และประสบการณ์ที่จะได้รับ

– เรียนรู้การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ตั้งแต่การออกแบบ การเลือกใช้ Block Code แทนการเขียนโปรแกรม การทดสอบการทำงานของแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา และการสร้างไฟล์ apk เพื่อนำแอพพลิเคชั่นนั้นไปใช้งานจริง

– เรียนรู้การสร้าง User Interface แบบต่างๆ เช่น button, textbox, spinner, slider, list, date/timepicker เป็นต้น เพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชั่น และการแสดงผล

– ควบคุมและสั่งงาน กล้อง (ทั้งกล้องหน้า-หลัง) ของอุปกรณ์พกพา ในการสแกนบาร์โค้ดทั้งแบบ 2D, 3D หรือ QR Codeถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ บันทึกเสียง และนำไฟล์ภาพ เสียง วิดีโอที่บันทึกได้มาเล่นบนอุปกรณ์พกพาได้ด้วย

– สร้างแอพพลิเคชั่นให้สามารถโทรออก และส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่กำหนด และยังสามารถรับข้อความ SMS โดยแอพพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงข้อความและหมายเลขโทรศัพท์ที่ส่ง SMS เข้ามา นอกจากนี้ ยังสามารถแชร์ข้อความและไฟล์ผ่านแอพพลิเคชั่นด้าน Social ต่างๆ ที่มีอยู่ในอุปกรณ์พกพา เช่น อีเมล์ line dropbox เป็นต้น

– เพิ่มขีดความสามารถของแอพพลิเคชั่นให้สามารถระบุตำแหน่งพิกัดด้วย GPS เป็น latitude, longitude และแสดงตำแหน่งพิกัดบนแผนที่ Google map

– เรียนรู้การใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการถือเครื่อง เช่น คว่ำอุปกรณ์ ถือแบบตั้ง แบบนอน ถือเอียง เป็นต้น เพื่อนำมาใช้เป็นอากัปกริยาในการควบคุมแอพพลิเคชั่น และตรวจจับการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับความเร่ง (Accelerometer) เช่น การเขย่าเครื่อง การเหวี่ยง การตก เป็นต้น

– เรียนรู้การการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้ในแอพพลิเคชั่น บันทึกลงในตัวแปร (Variable) ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยความจำภายในแอพพลิเคชั่น หรือจัดเก็บเป็นไฟล์ข้อความ และ TinyDBซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดเล็กที่ใช้บันทึกข้อมูลภายนอกแอพพลิเคชั่น

– รู้จักการใช้ฟังก์ชันนาฬิกา ในการอ่านค่าเวลาปัจจุบัน จับเวลาเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงการใช้ฟังก์ชั่นเฉพาะในการคำนวณช่วงระยะเวลา

– สร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับการวาด การขีดเขียนบน Canvas รวมทั้งการสร้างเกมส์หรือแอนิเมชั่นแบบง่ายๆ โดยสามารถเขียนโค้ดเพื่อควบคุมตัวการ์ตูนให้เคลื่อนที่ ชนแล้วกระเด้ง เป็นต้น

สมาชิก

ท่านละ (ยังไม่รวม VAT)

VAT 7 %

นิติบุคคล ยอดชำระเงิน (หัก 3%)

บุคคลธรรมดา ยอดชำระเงิน (รวม VAT แล้ว)

4,000

280

4,160

4,280

(ราคาค่าอบรมรวมอาหารกลางวันและของว่างแล้ว)

บุคคลทั่วไป

ท่านละ (ยังไม่รวม VAT)

VAT 7 %

นิติบุคคล ยอดชำระเงิน (หัก 3%)

บุคคลธรรมดา ยอดชำระเงิน (รวม VAT แล้ว)

4,500

315

4,680

4,815

(ราคาค่าอบรมรวมอาหารกลางวันและของว่างแล้ว)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่ง

โทรศัพท์ 089-128-0049

จองคอร์สออนไลน์
ดาวน์โหลดใบสมัคร